Flow Tech World
EN / TH

เซอร์กิจเบรกเกอร์ ป้องกันพิกัดกระแสลัดวงจร และวิธีการใช้

เซอร์กิจเบรกเกอร์ ป้องกันพิกัดกระแสลัดวงจร และวิธีการใช้

เซอร์กิจเบรกเกอร์ นับว่ามีความสำคัญอย่างมากเพราะจะช่วยป้องกันไม่ให้การทำงานของไฟฟ้าเกิดความผิดพลาด เช่น ไฟฟ้าลัดวงจร ไฟฟ้าดูด หรือช๊อต นำมาซึ่งความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สิน ก่อให้เกิดความปลอดภัยต่อที่อยู่อาศัย และนี่ก็เป็นเหตุผลหลักๆ ที่ตามอาคารบ้านเรือนต่างๆ ต้องติดเบรกเกอร์เซอร์วิสไว้นั่นเอง

ทำความรู้จักค่าพิกัดกระแสลัดวงจร (KA)

ค่าพิกัดกระแสลัดวงจร (KA) หมายถึง ค่าที่บ่งบอกว่าเบรกเกอร์นั้นๆ มีความสามารถหรือขีดจำกัดในการทนกระแสไฟที่ลัดวงจรสูงสุดได้อย่างปลอดภัย โดยมีเวลาที่สามารถทนได้เพียงระยะสั้นๆ แค่นั้น ก่อนที่เบรกเกอร์จะทริป โดยค่า KA นับว่าเป็นค่าที่สำคัญมาก เพราะขณะที่มีการเกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจร นั่นหมายถึงมีกระแสไฟไหลผ่านวงจรมากกกว่าค่าที่ได้ตั้งไว้ สมมติว่า หากตั้งหรือออกแบบไว้ที่ 30 A ขณะลัดวงจร ไฟฟ้าอาจมีการไหลเป็นร้อยหรือพันแอมป์ก็เป็นได้ ซึ่งหากเป็นเช่นนี้เบรกเกอร์ก็จะทริปทันที

หากเกิดไฟฟ้าไหลผ่านมากกว่าค่า KA ที่กำหนดจะเกิดอะไรขึ้น

ที่พบบ่อยๆ จะมี 2 ลักษณะที่จะทำให้เบรกเกอร์ไม่ทำงานคือ หน้าจอคอนแทคที่เบรกเกอร์จะละลายติดกัน กรณีนี้จะทำให้เบรกเกอร์ไม่ทริป โดยอาจเป็นแค่มีสายไฟเสียหาย แต่บางกรณีก็ส่งผลร้ายแรงคือ เกิดไฟไหม้ หรือเบรกเกอร์ระเบิดขึ้นได้ ความร้อนที่สูงมากจะทำให้ทองแดงระเหย เป็นอันตรายกับคนที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง

การเลือกการใช้ค่า (KA) ของเบรกเกอร์

การที่ไฟจะมีค่ากระแสไฟสูงสุดที่ไหลเท่าไหร่นั้น ขึ้นอยู่กับขนาดของสายไฟที่มาจากหม้อแปลงและจากขนาดของหม้อแปลงด้วย เรียกว่า Downstream shot-circuit current คือค่ากิโลแอมป์(KA) สูงสุดของเบรกเกอร์ ตัวอย่างเช่น หากคำนวณแล้วได้ค่าพิกัดกระแสลัดวงจรที่ปลายสาย 25A ก็จะไม่สามารถใช้เบรกเกอร์ที่มีพิกัดกระแสลัดวงจร 20 KA ในการติดตั้งได้

ข้อผิดพลาดในการติดตั้งเบรกเกอร์

ในการติดตั้งเบรกเกอร์ขนาดใหญ่ ขณะออกแบบระบบไฟฟ้า ค่าพิกัดกระแสKA ของเซอร์กิตเบรกเกอร์มักไม่ได้ถูกนำมาพิจารณา ส่วนมากพบว่ามักเลือกเบรกเกอร์ที่ราคาถูกเป็นอันดับแรกและมักใช้เบรกเกอร์ที่มีค่าเท่ากับกระแสไฟที่ใช้งานจริงเท่านั้น ซึ่งจะทำให้เบรกเกอร์ที่นำมาติดตั้งมีค่าพิกัดกระแสไฟ (KA) ต่ำกว่าค่ากระแสลัดวงจรต่ำสุดได้ เคยพบว่าเมื่อเกิดการช๊อตที่ขาออกของหม้อแปลงขนาดใหญ่ ทำให้เกิดกระแสไหลผ่านวงจร 20 KA หรือมากกว่า ผู้ผลิตจำนวนไม่น้อยที่มีความต้องการขายเบรกเกอร์ราคาถูกจึงได้ทำการลดค่ากระแสลัดวงจรเหลือเพียง 3 KA เท่านั้น และหากผู้ใช้หรือช่างไม่มีความรู้ความเข้าใจตรงนี้ก็อาจมีการเลือกเบรกเกอร์มาใช้ในขนาดที่ผิดได้นับเป็นอันตรายอย่างยิ่ง

รู้แบบนี้แล้ว การเลือกใช้เซอร์กิตเบรกเกอร์จึงจำเป็นต้องคำนึงถึงค่าพิกัดกระแสวงจรเป็นอันดับแรก ก่อนที่จะไปดูเรื่องยี่ห้อหรือราคา เพราะนั่นหมายถึงการติดตั้งเบรกเกอร์จะได้ใช้งานอย่างถูกต้องและได้ประโยชน์อย่างแท้จริง

สอบถามข้อมูลสินค้า