Flow Tech World
EN / TH

รู้จักประเภทและการทำงาน ของคอมเพรสเซอร์แอร์บ้าน

รู้จักประเภทและการทำงาน ของคอมเพรสเซอร์แอร์บ้าน

คอมเพรสเซอร์แอร์นับเป็นอุปกรณ์หลักสำคัญในเครื่องปรับอากาศ โดยทำหน้าที่ฉีดอัดสารทำความเย็นให้เข้าสู่ระบบทำงาน ให้ไหลต่อเนื่องในวงจร จริงๆ แล้วคอมเพรสเซอร์ไม่ได้มีเพียงแค่ประเภทเดียว ซึ่งหลายคนอาจยังไม่ทราบ ดังนั้น ลองมาดูกันว่าคอมเพรสเซอร์ถูกแบ่งให้มีกี่ประเภทและในแต่ละประเภททำหน้าที่อย่างไรบ้าง

ประเภทของคอมเพรสเซอร์

คอมเพรสเซอร์ของแอร์นั้นแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ

  1. แบบลูกสูบ (Reciprecatipgtype)
  2. แบบสวอตเพลต (Swash-plat)
  3. แบบโรตารี่

การทำงานของคอมเพรสเซอร์แอร์แต่ละประเภท

  1. แบบลูกสูบ (Reciprocationg type compressor) คอมเพรสเซอร์ประเภทนี้จะทำงานจากเพลาที่เคยใช้เพลาเหวี่ยงแบบหมุน มาเป็นแบบเหวี่ยงขึ้น-ลง โดยมีการส่งผ่านมาทางก้านสูบ ขณะลูกสูบเคลื่อนที่จากศูนย์ตายบนมายังศูนย์ตายล่างก็จะเกิดการดูดสารทำความเย็นให้เข้ามาในกระบอกสูบ และเช่นเดียวกันเมื่อลูกสูบเคลื่อนที่จากศูนย์ตายล่างมายังศูนย์ตายบนก็จะเกิดการอัดเอาสารทำความเย็นให้ออกจากกระบอกสูบเช่นกัน
  2. แบบสวอตเพลต (Swash-plat) มีหลักการทำงานคือ เป็นการทำงานร่วมกันกับลูกสูบและสวอตเพลต เนื่องจากสวอตเพลตวางอยู่ในลักษณะที่เอียงขณะทำงานสวอตเพลตจะหมุนและแกว่งไปมา มีผลทำให้ลูกสูบเคลื่อนที่กลับไปกลับมา ขณะที่เคลื่อนที่ไปยังด้านใดด้านหนึ่งก็จะการอัดเอาน้ำยาออก ในขณะเดียวกันอีกด้านก็จะดูดเอาน้ำยาเข้ามาในกระบอกสูบเป็นจังหวะแบบนี้สลับกันไปมาตลอดการทำงาน เป็นการทำงานพร้อมกัน 2 จังหวะในขณะที่ลูกสูบทำงานครั้งเดียวนั่นเอง
  3. แบบโรตารี่ (Rotary) เป็นการทำงานทั้งหมดแปดวงจร โดยแบ่งเป็นสี่วงจรอยู่ทางด้านบนของกระบอกสูบและอีกสี่วงจรอยู่ทางด้านล่างของกระบอกสูบ การทำงานของจังหวะดูด จังหวะอัดและจังหวะการจ่ายความเย็นจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อโรเตอร์หมุน โดยใบพัด ซึ่งโรเตอร์ในเรือนจะเป็นตัวกำหนดจังหวะการทำงานดังกล่าวทั้งหมด มีการสั่นสะเทือนน้อย ทำงานเงียบมีชิ้นส่วนน้อย เหมาะกับเครื่องปรับอากาศขนาดเล็ก

อุปกรณ์ในคอมเพรสเซอร์ทุกตัว นับว่ามีความสำคัญกับคอมเพรสเซอร์เป็นอย่างมาก หากเกิดการเสื่อมสภาพ ก็อาจทำให้เกิดปัญหาตามมาหลายอย่างได้ โดยหากมีปัญหาที่เกี่ยวกับการทำงานของคอมเพรสทุกประเภท ควรตามช่างที่ชำนาญเฉพาะทางมาแก้ไขจะดีกว่าทำการแก้ไขเอง เพราะหากไม่มีความรู้เพียงพออาจจะยิ่งทำให้เกิดความเสียหายหนักขึ้นได้ อีกทั้งหากแอร์มีปัญหาเพียงแค่อุปกรณ์ในคอมเพรสเสียแค่ส่วนนี้ ค่าซ่อมและค่าช่างยังพอคุ้มที่จะทำการแก้ไข แต่หากแอร์มีปัญหาเกิดจากตัวคอมเพรสเซอร์โดยตรงแล้ว อาจต้องซื้อใหม่ ไม่คุ้มที่จะซ่อมก็เป็นได้ ทางที่ดีเรียกช่างมาตรวจสอบก่อนจะดีที่สุด จะได้ตัดสินใจในการแก้ปัญหาต่อไปได้เหมาะสม

สอบถามข้อมูลสินค้า